วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

สื่อการสอน



นวัตกรรมกล่องภาษาพาสนุก

หลักการและเหตุผล      
กิจกรรมเกมการศึกษากล่องภาษาพาสนุกเป็นการเล่นเกมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นเกมการศึกษาที่จัดเตรียมไว้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเกมการศึกษาธรรมดา ซึ่งเกมกล่องภาษาพาสนุกเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในลักษณะที่มีมิติสัมผัสที่แตกต่างออกไป กล่องภาษาพาสนุกหนึ่งกล่องสามารถเรียนรู้เรื่องราวต่างๆได้หลากหลายมากขึ้น โดยฉะเพราะทักษะด้านภาษาอังกฤษ สามารถกระตุ้นจุดสนใจของเด็ก ทั้งนี้ให้เด็กคิดค้นวิธีการเล่นอย่างอิสระด้วยตนเองหรือเล่นร่วมกันเพื่อน ซึ่งสามารถพลิกแพลงวิธีเล่นได้หลากหลายหรือแตกต่างไปจากวิธีการเล่นเดิมๆ โดยจัดให้เด็กเล่นแบบรายบุคคล รายกลุ่มหรือจัดเป็นการแข่งขันก็ได้         การจัดเกมการศึกษากล่องภาษาพาสนุกทำให้เด็กรู้จักคิดด้วยตนเองคิดร่วมกับเพื่อนเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ที่จะคิดวิธีการเล่นที่หลากหลาย รู้จักวางแผนการเล่นการแก้ปัญหา หรือวางแผนร่วมกับเพื่อน เด็กจะเกิดความกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก มีความสามัคคี รู้จักการรอคอย

วัตถุประสงค์
          1. ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กดังนี้
พัฒนาการด้านร่างกาย
1.       ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
2.       ฝึกประสาทสัมผัสระหว่างสายตากับมือ
พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
1.       กล้าแสดงออก
2.       มีความสนุกสาน ผ่อนคลายความเครียด
3.       มีความภาคภูมิใจ
4.       มีความรู้สึกอบอุ่นมั่นใจ
พัฒนาการด้านสังคม
1.       เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนฝึกการรอคอย
2.       ปรับตนให้เข้ากับเพื่อน
3.       รู้จักการเอื้อเฟื้อ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
1.       ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ
2.       ฝึกการจำแนก ฝึกทักษะด้านภาษา
3.       ฝึกการคิดด้วยตนเอง และการคิดร่วมกับผู้อื่น
4.       รู้จักใช้เหตุผลในการตัดสินใจ  รู้จักการคิดแก้ปัญหา
5.       รู้จักการวางแผนด้วยตนเอง และวางแผนร่วมกับเพื่อน
6.       มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
เป้าหมาย
          ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็ก
วิธีการใช้นวัตกรรม/วิธีการจัดกิจกรรม
1. เตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่เกมกล่องภาษาพาสนุกจะเล่นโดยเป็นของที่สามารถเล่นได้หลากหลายและมีความปลอดภัย ไม่มีอันตรายให้เด็กเล่นอย่างอิสระในสถานการณ์ที่เปิดกว้าง
2.. สนทนากับเด็กเพื่อช่วยกันสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการเล่นและการเก็บของเล่นโดยครูสาธิตให้ดู
3. ให้เด็กเล่นของเล่นอย่างอิสระ ครูเข้าไปมีส่วนร่วมในจังหวะที่เหมาะสม
4. เมื่อเด็กเริ่มเล่นไม่ควรบอกวิธีเล่น
5. เมื่อเด็กไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเล่นอย่างไรครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเล่น
6. เมื่อเด็กกำลังคิดวิธีการแก้ปัญหาไม่ควรถามเด็ก ยกเว้น ถ้าเด็กใช้เวลาคิดนานแล้วแต่ยังคิดหาวิธีแก้ปัญหาไม่ได้ ทั้งนี้ไม่ควรถามเกิน 2 คำถาม หรือย้ำคำถามเดิม
7. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ เล่นอย่างทั่วถึงทุกคนโดยการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเด็กที่เล่นเกม
8. แสดงความชื่นชมด้วยท่าทางหรือคำพูดเมื่อเด็กคิดวิธีเล่นได้และให้เด็กช่วยกันเก็บของเล่นเข้าที่
9. หลังจากเด็กได้พลิกแพลงวิธีเล่นที่หลากหลายพอเพียงแล้วครูอาจเพิ่มหรือปรับของเล่นตามความเหมาะสม
การวัดและประเมินผล
1. สังเกตการณ์เล่น ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
2. ให้เด็กช่วยกันเก็บของเล่นเข้าที่
3. เด็กและครูช่วยกันสรุปข้อสังเกตที่ได้จากการเล่น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.       เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่ได้รับจากนวัตกรรมนี้
ภาพประกอบการใช้สื่อ







             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น